วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว

 
 
ประวัติส่วนตัว
 
 
 
 

 
 
 
 
ชื่อ นายปกสินธ์ วรรณฉวี    ม.4/11 เลขที่ 7
 
 
ชื่อเล่น เนส
 
 
ฉายา ปลวก เวตาล โปรโตซัว ตะขาบ แบคทีเรีย ซอฮยอน
 
 
วันเกิด 6 พฤศจิกายน 2541
 
 
ข้อดี : ร่าเริง กล้าแสดงออก
 
 
ข้อเสีย : เสียงดัง ขี้กังวล
 
 
แนวเพลงที่ชอบ : K-pop J-pop
 
 
ศิลปินคนโปรด : Girls'Generation EXO SHINee Girl's Day After School  T-ARA KARA Rainbow
 
 
 
 
 
 
 
 
ลักษณะเด่น : ตุ๊ด สวยที่สุดในห้อง 4/11 เสียงดัง อ้อร้อ
คติประจำตัว : ทำแล้วเสียใจ ดีกว่าเสียใจที่ไม่ได้ทำ
 
 
 
 
 

 


เขียวหมื่นปี


เขียวหมื่นปี


ชื่อวิทยาศาสตร์ Aglaonema Modestum
วงศ์ ARACEAE
ถิ่นกำเนิด ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แสงแดด รำไรและในร่ม
อุณหภูมิ 16-24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นพอควร
น้ำ ต้องการน้ำพอสมควร
การดูแล ไม่ต้องการแสงมากนัก ต้องการน้ำและความชื้นพอประมาณ ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละครั้ง
การปลูก ใช้แยกกอไปปลูก หรือตัดต้นหรือยอดไปปักชำ ชอบดินร่วนซุยมีอินทรีวัตถุและมีการระบายน้ำที่ดี ส่วนผสมของดินปลูกใช้ดิน 2 ส่วน ทราย 1 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ ใช้แยกกอไปปลูก หรือตัดต้นหรือยอดไปปักชำ
อัตราการคายความชื้น ปานกลาง
อัตราการดูดสารพิษ ปานกลาง

            เป็นไม้ประดับที่มีใบสวยงาม สีเขียวตลอดทั้งปี สามารถเจริญงอกงามได้แม้ในที่มีแสงสว่างเพียงเล็กน้อย จึงนิยมใช้ปลูกเลี้ยงประดับภายในอาคาร นอกจากนี้เขียวหมื่นปียังทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แห้งแล้งหรือความชื้นต่ำได้ดี เป็นพืชในวงศ์ Araceae สกุล Aglaonema มีถิ่นกำเนินกระจายอยู่ในประเทศเขตร้อนของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ จีน และแอฟริกา ไม้ในตระกูลนี้คนไทยส่วนใหญ่มักจะรู้จักกันในชื่อว่าว่านมงคลที่มีสรรพคุณต่าง ๆ กันตามความเชื่อถือ

โกสน


โกสน


ชื่อวิทยาศาสตร์: Codiaeum variegatium (L.) Blume
ชื่อสามัญ: Croton, Variegated Laurel, Garden Croton
 
ชื่ออื่น: กรีกะสม กรีสาเก โกรต๋น (ทั่วไป)
วงศ์: EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้พุ่ม สูง 2-3 ม.

ใบ ใบเรียงเวียนสลับ ใบเดี่ยว รูปใบมีหลายแบบ เช่นกลม แถบยาว รูปไข่แกมรูปหอก ความกว้างยาวของใบไม่สามารถกำหนดได้ เนื่องจากมีความผันแปรมาก โคนใบแหลม ปลายใบแหลม บางครั้งมีเส้นกลางใบยื่นแล้วมีรยางค์แผ่เป็นใบเล็กๆ อีก 2 ใบ ขอบใบเรียบหรือเว้า บางต้นเว้าถึงเส้นกลางใบ แผ่นใบอาจบิดเป็นเกลียว มีสีต่างๆ เช่น ขาว เหลือง ส้ม ชมพู แดง ม่วงและดำ

ดอก ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ดอกแยกเพศ ช่อดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้มีดอกกลม เล็ก ดอกย่อยมี 30-60 ดอก กลีบดอก 5-6 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก ช่อดอกเพศเมียตั้งขึ้น มี 10-20 ดอก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก

ผล ผลกลม มี 3 พู เมื่อแก่แตกได้ มี 3 เมล็ด แต่ละช่องมี 1 เมล็ด

มรกตแดง


มรกตแดง
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Philodendron Erubescens
วงศ์ ARACEAE
ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้
แสงแดด ใต้ร่มหรือร่มรำไร
อุณหภูมิ 16–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นสูง
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง
การดูแล ควรรดน้ำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่อย่าให้แฉะ หมั่นเช็ดใบด้วยผ้าชุบน้ำพอหมาด จะทำให้ใบมีสีเขียวเป็นมันดูสวยงาม ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักละลายในน้ำรดเดือนละครั้ง
การปลูก ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย ส่วนผสมของดินใช้ ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน ใบไม้ผุ 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ วิธีปักชำยอดหรือลำต้น
อัตราการคายความชื้น ปานกลาง
อัตราการดูดสารพิษ ปานกลาง
มรกตแดงเป็นพันธุ์ไม้ที่ดูดสารพิษได้ดีที่สุดในบรรดาพันธุ์ไม้ในตระกูลฟิโลเดนดรอนด้วยกัน เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย จึงถูกแนะนำให้นำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคาร มรกตแดงเป็นพืชพันธุ์ไม้เลื้อยในตระกูลฟิโลเดนตรอน ตามธรรมชาติจะเลื้อยพันต้นไม้ใหญ่ในป่า จึงเป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่ชอบแสงแดดจัดนัก แต่เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารก็เป็นไม้ที่แข็งแรง ปลูกเลี้ยงง่าย ไม่ค่อยมีปัญหา มรกตแดงมีใบใหญ่ สีเขียวอมแดงเป็นมัน ดูสวยงาม การปลูกภายในอาคารให้ใช้กาบมะพร้าวหุ้มไม้ปักไว้ในกระถางพรมน้ำให้ชื้นเพื่อให้ยึดเกาะ ถ้าต้องการให้แตกกิ่งก้านสาขามากๆ เพื่อให้ดูเป็นพุ่มสวยงามก็ควรหมั่นเด็ดยอดตั้งแต่ยังเล็กอยู่

พลูด่าง

พลูด่าง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Scindapsus aureus
วงศ์ ARACEAE
ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะโซโลมอน
แสงแดด กึ่งแดด ร่มรำไร
อุณหภูมิ 18–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นสูง
น้ำ ต้องการน้ำมาก
การดูแล ต้องการแสงจากแสงแดดหรือแสงไฟจากไฟนีออนพอสมควร ต้องการน้ำพอสมควร ถ้าอากาศภายในห้องแห้ง ควรฉีดหรือพ่นละอองไอน้ำให้ หรือเช็ดใบด้วยผ้าเปียกหมาดๆ
การปลูก ขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งหรือลำต้นที่มีใบติดอยู่ไป ปักชำเลี้ยงในน้ำหรือปลูกในดินก็ได้ ปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด ส่วนผสมของดินใช้ดิน 2 ส่วน ทราย 1 ส่วน เศษใบไม้ผุหรือขุยมะพร้าว 1 ส่วน ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักละลายน้ำอย่างเจือจางรดเดือนละครั้ง
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการปักชำ
อัตราการคายความชื้น ปานกลาง
อัตราการดูดสารพิษ มาก

พลูด่างเป็นไม้เลื้อยที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารและบ้านเรือนมานานแล้ว ด้วยรูปใบและสีเขียวแต้มเหลืองที่ดูสวยงาม โดยเฉพาะเมื่อมันเลื้อยพันหรือห้อยย้อยลงมาดูอ่อนช้อยและเพิ่มความมีชีวิตชีวา แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ถึงความสามารถในการดูดสารพิษในอากาศของพลูด่าง

พลูด่างเป็นไม้เลื้อยที่ลำต้นมีรากงอกออกมาตามข้อ ใบกลมป้อมคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมนเล็กน้อย ใบมีสีเขียวและมีรอยด่างสีเหลืองอยู่ที่ใบทำให้ดูสวยงาม

พลูด่างเป็นพืชที่ปลูกง่าย แม้เพียงปักชำในน้ำก็สามารถเจริญเติบโตได้และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว ต้องการน้ำมากและแสงแดดพอสมควร แต่ก็สามารถอยู่ได้แม้มีแสงและน้ำน้อย นิยมปลูกในกระถางแขวนหรือกระถางที่มีเสาเหล็กให้เลื้อยพันหรือให้เลื้อยตามโคนต้นไม้ใหญ่ ถ้าปลูกลงดินใบจะใหญ่มาก

สาวน้อยประแป้ง


สาวน้อยประแป้ง

 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dieffenbachia Exotica
วงศ์ ARACEAE
ถิ่นกำเนิด อเมริกากลางและอเมริกาใต้
แสงแดด ร่มรำไร
อุณหภูมิ 16–27 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นสูง
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง
การดูแล ควรปลูกในที่ร่มรำไร ไม่ควรให้ถูกแสงแดดโดยตรง ไม่ควรรดน้ำมากเกินไปจนแฉะ เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา หมั่นเช็ดใบด้วยผ้าชุบน้ำพอหมาดจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละ 1–2 ครั้ง
การปลูก ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย ส่วนผสมของดินใช้ ดินร่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เศษใบไม้ผุ ทรายหยาบ ในอัตราส่วนเท่าๆ กัน
การขยายพันธุ์ ด้วยการตัดลำต้นชำ โดยตัดต่ำกว่ายอดลงมาประมาณ 1 ฟุต
อัตราการคายความชื้น ปานกลางถึงมาก
อัตราการดูดสารพิษ ปานกลางถึงมาก
 
สาวน้อยประแป้งเป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั้งภายนอกและภายในอาคารมานานแล้ว เพราะเลี้ยงง่าย ทน และใบที่มีลวดลายสวยงาม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงคุณค่าของสาวน้อยประแป้งในฐานะที่เป็นไม้ที่ช่วยฟอกอากาศ สามารถดูดสารพิษได้มากชนิดหนึ่ง สาวน้อยประแป้งมีใบใหญ่คล้ายใบพาย มีตั้งแต่สีเขียวอ่อน เขียวแก่ไปจนถึงสีเหลืองอ่อนๆ มีลายแต้มประปรายสีขาวหรือเหลืองอ่อน ดูสวยงาม จึงได้ชื่อว่า สาวน้อยประแป้ง

ดาวเรือง



ดาวเรือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tagetes erecta L.; ชื่อสามัญ: Marigold) มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า คำปู้จู้ (ภาคเหนือ) นิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ซอเวอร์เรน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ๆที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาไมก้า (jamaica) และอื่นๆอีกหลายพันธุ์

 ดาวเรืองขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดเป็นหลัก อาจใช้การปักชำได้ แต่ต้นที่ได้จะให้ดอกที่มีขนาดเล็กกว่า

 
ประโยชน์ของดอกดาวเรือง

ดอกดาวเรืองใช้ร้อยพวงมาลัยชนิดต่างๆเพื่อการบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ กลีบดอกดาวเรืองมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า xanthophyll สูง จึงมีการปลูกเพื่อเก็บดอกเพื่อเอาไปเป็นส่วนผสมของอาหารไก่ไข่เพื่อให้ไข่แดงมีสีแดงสวยทดแทนสารสังเคราะห์

ดาวเรืองสะสมสารหนูได้ 42% ในใบจึงมีประโยชน์ในการฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนสารหนู มีกลิ่นฉุนและสามารถไล่ยุงได้

มะลิ



มะลิ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum; อังกฤษ: Jasmine; อินโดนีเซีย: Melati) เป็นพรรณไม้ยืนต้น พบได้ในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง บางชนิดมีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยว แตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว และมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด นอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

 สรรพคุณ

  • ดอก -แก้หืด ใช้แต่งกลิ่นใบชา ใช้อบขนมต่างๆ แก้โรคบิด อาการปวดท้อง หากตำให้ละเอียดพอกที่ขมับ แก้อาการปวดหัวและปวดหูชั้นกลางได้ ช่วยรักษาแผลพุพอง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย รวมทั้งเป็นยาบำรุงหัวใจได้อย่างดีเยี่ยม
  • ใบ ราก - ทำยาหยอดตา
  • ใบ - แก้ไข้แก้ไข้ที่เกิดจากอาการเปลี่ยนแปลงได้ดี ช่วยบำรุงสายตา รวมทั้งรักษาอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย ขับน้ำนม รักษาโรดผิวหนัง หากนำใบมาตำแล้วละลายกับน้ำปูนใส แต้มแผลฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนังจะหายไวขึ้น
  • ราก - แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เลือดออกตามไรฟัน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ นำรากมาฝนกินกับน้ำใช้แก้ร้อนใน คนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก ให้นำรากมาประมาณ 1-1.5 กรัม ต้มน้ำกินก็ช่วยได้

กุหลาบหิน



กุหลาบหิน เป็นไม้ในสกุลที่ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่ม อวบน้ำและมีอายุอยู่ได้นานหลายปี มีถิ่นกำเนิดในมาดากัสกาแอฟริกาและเอเชีย เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้กระถาง ต้นดั้งเดิมส่วนมากจะมีลักษณะต้นสูงเก้งก้าง ต่อมาได้มีการคัดเลือกพันธุ์ อันเนื่องมาจากการกระจายพันธุ์และการผสมพันธุ์ ทำให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีพุ่มต้นเตี้ยกะทัดรัด

ลักษณะทั่วไป

กุหลาบหินหรือกาลังโชเป็นไม้ประดับกระถาง เป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกทั้งในและนอกอาคาร แต่ปลูกได้ดีเมือ่อยู่ ในกลางแจ้ง เพราะเป็นพืชชอบแดด กุหลาบหินเมีใบค่อนข้างกลมเป็นหยักมนซ้อนๆกันคลายดอกกุหลาบแต่ ไม่อ่อนช้อยจึงได้ชื่อว่ากุหลาบหิน กุหลาบหินเป็นไม้อวบน้ำอายุหลายปีมีพุ่มเตี้ยสูง 30 - 40 เซนติเมตร ใบเดี่ยว สีเขียวกลม ปลายมนขอบใบหยักเป็นมน ออกเวียนสลับซ้อนๆ กัน ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกชูสูงเหนือพุ่มใบ เป็น ดอกย่อยขนาดเล็กๆจำนวนมาก สีแดงอมส้มสด ปัจุปันมีพันธุ์ที่เป็นพุ่มเตี้ยกะทัดรัด ใบขนาดเล็ก และมีดอกสี ต่างๆ เช่น ชมพู ส้ม เหลือง ฯลฯ ออกดอกฤดูกาลเดียว คือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน - มีนาคม เป็นพืชที่เลี้ยงง่าย แตกหน่อไว ถ้าขยันแยกหน่อ กุหลาบหินจะเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็วในเวลาอันสัน มีบางคนนิยมปลูกกุหลาบหินเป็นไม้มงคล เพื่อถือเคล็ด ว่าปลูกแล้ว จะรำรวยเป็นเศรษฐี อย่าไรก็ตามกุหลาบหินเป็นไม้ประดับที่น่าสนใจที่รูปทรงดูสวยแปลกตาแตก ต่างจากไม้ชนิดอื่น ถึงแม้มีความสามารถในการดูดสารพิษน้อย

การดูแล

กุหลาบหินเป็นพืชที่ปลูกที่ปลูกง่ายทนทาน นิยมปลูกไว้กลางแจ้ง เพราะชอบแดดจัด แต่ถ้านำมาปลูกภายในอาคารก็สามารถปลูกได้ แต่ใบจะมีสีเขียวเข้มและ มักจะไม่ออกดอก จึงควรตั้งไว้ในที่มีแสงอย่างเพียงพอหรือแสงแดดส่องถึง ให้น้ำสัปดาห์ 1-2 ครั้ง ก้อเพียงพอ ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ละลายน้ำรดในช่วงที่กำลังออกดอก

การปลูก

ดินที่ใช้ปลูกต้องโปร่งระบายน้ำได้ดี ทั้งนี้เพราะกุหลาบหินไม่ชอบดินแฉะกุหลาบหินไม่พิถีพิถันเรื่องดินปลูกมากนัก โดยเฉพาะประเทศไทยอาจเป็นเพราะว่ากุหลาบหินมีช่วงการเจริญเติบโตจนดอกบานนานกว่าไม้ดอกชนิดอื่นๆ กุหลาบหินปลูกได้ในดิน เกือบทุกชนิด แต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทรายส่วนผสมของดินใช้ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ขยายพันธุ์โดยการปักชำยอดและปักชำใบ
 
การขยายพันธุ์
1.โดยการเพาะเมล็ด ดังได้กล่าวมาแล้วว่าเมล็ดกุหลาบหินมีขนาดเล็กมากเล็กกว่าเมล็ดกล็อกซิเนียและอัฟริกันไวโอเล็ต จนเกือบจะกล่าวได้ว่าเล็กที่สุดในบรรดาไม้ดอกทั้งหลาย เมล็ดหนัก 1 ออนซ์ มีถึง 1,000,000-2,500,000 เมล็ด (บีโกเนียมี 2,000,000 แล้วแต่พันธุ์) ดังนั้นการเพาะจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังและพิถีพิถันเป็นอย่างยิ่ง ทั้งวัสดุที่ใช้จะต้องสะอาดและมีขนาดเล็ก (Fine) เก็บความชื้นได้พอเหมาะพอดีไม่แฉะเกินไป เพราะถ้าแฉะเกินไปจะทำให้เมล็ดเน่าก่อนงอก ในต่างประเทศใช้พีทและเวอร์มิคูไลต์ เบอร์ 4 อัตราส่วน 1:1 การเพาะควรใช้วิธีหว่านลงบนวัสดุเพาะโดยไม่ต้องกลบ เมล็ดจะสอดแทรกเข้าไปในช่องว่างของวัสดุที่ใช้เพาะเองได้ แต่เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย จึงงอกได้เร็วและง่ายกว่าไม้ดอกอื่นๆ ตามตำราบอกว่าเมล็ดจะงอกภายใน 10 วันและอุณหภูมิที่ใช้เพาะจะต้องสูงกว่า 70 F ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ในการเพาะเมล็ดไม้ดอกมาหลายสิบชนิด ส่วนมากเมล็ดจะงอกได้เร็วกว่ากำหนดไว้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะเรามีอุณหภูมิสูงกว่า 70 F อากาศร้อนกว่าจึงทำให้เมล็ดงอกเร็วกว่ากำหนดเสมอ ดังนั้นคาดว่ากุหลาบหินจะงอกภายใน 5-7 วันเท่านั้น
2.การปักชำ ทำได้ทั้งยอดและใบแต่ดังได้กล่าวมาแล้วว่าในต่างประเทศได้มีการคัดพันธุ์และผสมพันธุ์จนได้พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะดีเด่นมากมายพร้อมกับ มีการจดทะเบียนสงวนลิขสิทธิ์ไว้เรียบร้อย ตามกฎหมายแล้วสงวนลิขสิทธิ์ในการทำกิ่งปักชำจำหน่ายเฉพาะผู้ทีมีใบอนุญาตเท่านั้น โดยผู้ปลูกจะต้องซื้อกิ่งปักชำจากผู้ผลิต แต่ถ้าต้องการจะทำกิ่งปักชำเอง โดยซื้อต้นแม่พันธุ์มาทำสต็อค จะต้องขออณุญาตอย่างเป็นทางการและขอค่าธรรมเนียมเป็นรายกิ่งให้กับผู้ทรงสิทธิ์นั้นด้วย จะขยายพันธุ์เองโดยพลการย่อมไม่ได้ถือว่าผิดกฎหมายมีโทษอย่างแรง การปักชำยอดทำได้ง่ายและสะดวกมาก เพียงแต่ตัดส่วนยอดให้มีความยาวประมาณ 1-3 นิ้ว ริดใบล่างออกบ้าง นำไปปักชำในทรายผสมถ่านแกลบอัตราส่วน 1:1 จะออกจากรากภายใน 2 สัปดาห์และย้ายปลูกได้เลย การปักชำใบทำได้ง่ายสะดวกมากแม้ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าจะงอกเป็นต้นใหม่ คือ หลังจากปักชำแล้วจะออกรากที่โคนก้านใบภายใน 2 สัปดาห์แล้ะจะออกต้นใหม่ในเวลาประมาณ 2 เดือน

กรรณิการ์



กรรณิการ์ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้จากตอนเหนือของปากีสถานและเนปาลไปทางใต้ถึงตอนเหนือของอินเดียและตะวันออกเฉียงใต้ของไทย
การปลูกและดูแลรักษา กรรณิการ์เป็นไม้ที่ชอบที่ร่มรำไรและมีความชุ่มชื้นพอควร ดินที่ใช้ปลูกควรจะเป็นดินอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ไม่ควรมีน้ำขัง ซึ่งอาจจะทำให้รากเน่าได้ ต้องการน้ำเพียงปานกลางเท่านั้น สามารถขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้าน เช่น ปลูกเป็นฉากหลัง บังสายตาหรือใช้ปลูกเป็นกลุ่มๆ แต่ควรห่างจากลานนั่งเล่น เพราะดอกจะมีกลิ่นหอมแรงในช่วงเย็น
กรรณิการ์ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้หลายชนิด ก้านดอกสามารถนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าจีวรพระ หรือสีทำขนม มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆ คือ กณิการ์ กรณิการ์

สรรพคุณทางด้านสมุนไพร
- ราก มีรสขมฝาด แก้อาการท้องผูก อุจจาระเป็นพรรดึก(อุดตัน ก้อนเล็กๆ แห้ง) แก้ท้องผูก
- ลำต้นเปลือกต้นมีรสหวานเย็นมีสารฝาดของแทนนิน(Tannin)ใช้แก้โรคท้องร่วง เปลือกชั้นใน

- ใบ บำรุงน้ำดี ขับน้ำดี แก้ไข้เพื่อดี แก้อาการปวดตามข้อ  ใช้เป็นยาระบาย เป็นยารสขมเจริญอาหาร

กล้วยไม้



กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 880 สกุล และประมาณ 22,000 ชนิดที่มีการยอมรับ(อาจมากกว่า 25,000 ชนิด) คิดเป็น 611% ของพืชมีเมล็ด  มีการค้นพบราวๆ 800 ชนิดทุกๆปี มีสกุลใหญ่ๆคือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด), Epidendrum (1,500 ชนิด), Dendrobium (1,400 ชนิด) และ Pleurothallis (1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า

กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ มีลักษณะการเติบโตแบบต่างๆ ได้แก่
  •        กล้วยไม้อากาศ คือ กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น
  •              กล้วยไม้ดิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ
  •         กล้วยไม้หิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นตามโขดหิน


ประวัติกล้วยไม้

กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวัน ตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง
หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา.