.
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
กลุ่มที่ 11
สมาชิกกลุ่ม
1. นายปกสินธ์ วรรณฉวี ม.5/11 เลขที่ 5
2. นางสาวพิชญาภา ตู้บรรเทิง ม.5/11 เลขที่ 22
3. นางสาวณัฏฐณิชา ขุนวิจิตร ม.5/11 เลขที่ 31
วิธีดำเนินการ
- คิดหัวข้อ
- ดำเนินการค้นหาข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การหาข้อมูลต่างๆตามเว็บไซต์ การอ่านวิเคราะห์ความเห็นตามเว็บบอร์ดชื่อดังในอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา
- ดำเนินการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
- นำเสนอในรูปแบบเว็บไซต์
ผลการดำเนินการ (สรุปความรู้ที่ได้)
จากการได้ศึกษาโครงงานนี้่ จะได้
แหล่งเรียนรู้
หลักฐานประกอบ
กลุ่มที่ 11
สมาชิกกลุ่ม
1. นายปกสินธ์ วรรณฉวี ม.5/11 เลขที่ 5
2. นางสาวพิชญาภา ตู้บรรเทิง ม.5/11 เลขที่ 22
3. นางสาวณัฏฐณิชา ขุนวิจิตร ม.5/11 เลขที่ 31
วิธีดำเนินการ
- คิดหัวข้อ
- ดำเนินการค้นหาข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การหาข้อมูลต่างๆตามเว็บไซต์ การอ่านวิเคราะห์ความเห็นตามเว็บบอร์ดชื่อดังในอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา
- ดำเนินการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
- นำเสนอในรูปแบบเว็บไซต์
ผลการดำเนินการ (สรุปความรู้ที่ได้)
จากการได้ศึกษาโครงงานนี้่ จะได้
- ได้ฝึกการสร้างเว็บไซต์และจัดการเนื้อหาในเว็บไซต์
- ทำให้ผู้ที่รู้สึกไม่ดีหรือมองสังคมk-popในแง่มุมไม่ดีเข้าใจถึงเหตุผล และข้อดีของ k-pop มากขึ้น
- เพื่อให้บุคคลทั่วไปรู้จักสังคม k-pop มากขึ้น และเข้าถึงสังคม k-pop ได้ง่ายขึ้น
แหล่งเรียนรู้
- ศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ
- คลิปวิดิโอจาก youtube
- การเก็บข้อมูลจาก Google Form
หลักฐานประกอบ
IPBoard
IPB (บางคนก็เรียก IPBoard) หรือชื่อเต็มคือ Invision Power Board เป็นอีกหนึ่งเว็บบอร์ดสำเร็จรูปที่น่าสนใจ เพราะมีรูปแบบหน้าจอที่สวย มีทั้งยังใช้งานได้สะดวกอีกด้วย
ข้อดี:
- มีระบบจัดการทุกอย่างที่ยอดเยี่ยมมาก อาทิเช่น ระบบแปลภาษาในตัว Admincp และระบบอื่นๆ
อีกมากมาย
- สกินมีความสวยงามมาก สวยที่สุดเท่าที่เคยเจอ
- มีระบบ Download ระบบ แกลลอรี่รูปภาพ ระบบบล็อก และอื่นๆอีกมากมาย
ข้อเสีย:
- ภาษาไทยยังไม่สมบูรณ์ 100% ถ้าเทียบกับ cms เว็บบอร์ดตัวอื่น ถือว่าช้ามากๆ
- การออกแบบมันดูรกไป ทำให้ดูเยอะเกินไป
- มีลิขสิทธิ์ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ฟรี
อธิบายคือ เปิดให้ใช้ฟรี แต่สำหรับใครที่อยากซื้อลิขสิทธิ์ เพื่อใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิ์ภาพ ก็สามารถซื้อได้ ซึ่งราคาก็สูงอยู่พอสมควร
แล้วลิขสิทธิ์มันต่างจากแบบฟรียังไงล่ะ?
ก็คือลิขสิทธิ์มันจะสามารถใช้งานพวก Download ระบบ แกลลอรี่รูปภาพ ระบบบล็อก อะไรพวกนี้ได้ แต่ถ้าฟรีจะใช้ไม่ได้ คือ มันมีเหมือนกับว่า hack อะไรงี้แหละ เค้าเรียกกันว่า null เช่น IP.Download null ถ้าโหลดมาก็จะใช้ได้โดยไม่ต้องมีลิขสิทธิ์ แต่ถ้าไม่ใช่แบบ null คือต้องมีลิขสิทธิ์
เว็บหลัก : http://www.invisionpower.com/
เว็บแจกฟรี สกิน,mod และอื่นๆ : http://forumcore.net/
เว็บชุมชนในไทย : http://ipbthai.com/ และ http://ipbthailand.in.th/
ข้อดี:
- มีระบบจัดการทุกอย่างที่ยอดเยี่ยมมาก อาทิเช่น ระบบแปลภาษาในตัว Admincp และระบบอื่นๆ
อีกมากมาย
- สกินมีความสวยงามมาก สวยที่สุดเท่าที่เคยเจอ
- มีระบบ Download ระบบ แกลลอรี่รูปภาพ ระบบบล็อก และอื่นๆอีกมากมาย
ข้อเสีย:
- ภาษาไทยยังไม่สมบูรณ์ 100% ถ้าเทียบกับ cms เว็บบอร์ดตัวอื่น ถือว่าช้ามากๆ
- การออกแบบมันดูรกไป ทำให้ดูเยอะเกินไป
- มีลิขสิทธิ์ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ฟรี
อธิบายคือ เปิดให้ใช้ฟรี แต่สำหรับใครที่อยากซื้อลิขสิทธิ์ เพื่อใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิ์ภาพ ก็สามารถซื้อได้ ซึ่งราคาก็สูงอยู่พอสมควร
แล้วลิขสิทธิ์มันต่างจากแบบฟรียังไงล่ะ?
ก็คือลิขสิทธิ์มันจะสามารถใช้งานพวก Download ระบบ แกลลอรี่รูปภาพ ระบบบล็อก อะไรพวกนี้ได้ แต่ถ้าฟรีจะใช้ไม่ได้ คือ มันมีเหมือนกับว่า hack อะไรงี้แหละ เค้าเรียกกันว่า null เช่น IP.Download null ถ้าโหลดมาก็จะใช้ได้โดยไม่ต้องมีลิขสิทธิ์ แต่ถ้าไม่ใช่แบบ null คือต้องมีลิขสิทธิ์
เว็บหลัก : http://www.invisionpower.com/
เว็บแจกฟรี สกิน,mod และอื่นๆ : http://forumcore.net/
เว็บชุมชนในไทย : http://ipbthai.com/ และ http://ipbthailand.in.th/
Web CMS คืออะไร ??
CMS ย่อมาจาก Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยในการใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ ตัวของ CMS เองจะมีโปรแกรมแถมมาและสามารถแทรกเองได้มากมายเช่น webboard , ระบบจัดการป้ายโฆษณา , ระบบนับจำนวนผู้ชม แม้แต่กระทั่งตระกร้าสินค้า และอื่นๆอีกมากมาย
CMS เป็นเหมือนโปรแกรม โปรแกรมหนึ่ง ที่มีผู้พัฒนามาจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเว็บไซต์เช่น PHP , Python , ASP , JSP ซึ่งในปัจจุบันมีคนใจดีพัฒนา CMS ฟรีขึ้นมามากมายอย่างเช่น Mambo , Joomla , Wordpress
แน่นอนว่าผู้พัฒนาระบบ CMS ฟรี ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นล้วนเป็นมืออาชีพที่มีฝีมือในเรื่องของ เว็บไซต์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งการเขียนโปรแกรมที่รัดกุม การออกแบบเนวิเกชั่นที่ดี ทำให้ภาพรวมของเว็บไซต์ที่ใช้ CMS นั้นออกมาในแนวมืออาชีพอย่างมาก
ข้อดีของ CMS
1.ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำเว็บไซต์ เพียงแค่เคยพิมพ์ หรือเคยโพสข้อความในอินเทอร์เนต ก็สามารถมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้
2.ไม่เสียเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ ไม่เสียเงินจำนวนมาก
3.ง่ายต่อการดูแล เพราะมีระบบจัดการทุกอย่างให้เราหมด
4.มีระบบจัดการที่เราสามารถหามาใส่เพิ่มได้มากมาย อย่างเช่น ระบบแกลลอรี่
5.สามารถเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ได้ง่ายๆ เพียงแค่โหลดทีม (Theme) ของ CMS นั้นๆ
ข้อเสียของ CMS
1.ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการออกแบบทีม (หน้าตาของเว็บ) เอง จะต้องใช้ความรู้มากกว่าปรกติ เนื้องจาก CMS มีหลายๆระบบมารวมกันทำให้เกิดความยุ่งยาก สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้
2.ผู้ใช้จะต้องศึกษาระบบ CMS ที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้นมา เช่นจะต้องใส่ข้อความลงตรงไหน จะต้องแทรกภาพอย่างไร ซึ่งจะลำบากเพียงแค่ช่วงแรกเท่านั้น
3.ในการใช้งานจริงนั้นจะมีความยุ่งยากในการ set up ครั้งแรกกับ web server แต่ปัจจุบันก็มีผู้บริการ web server มากมายที่เสนอลงและ set up ระบบ CMS ให้ฟรีๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
เมื่อรวมๆข้อดีและข้อเสียดูแล้ว ก็ยังเห็นได้ว่า CMS นั้นก็เป็นระบบที่น่าใช้งานอยู่ดี
ที่มา :: http://www.hellomyweb.com/index.php/main/content/121
10 ข้อที่ไม่ควรละเลยในเว็บไซต์ขนาดเล็ก
10 ข้อที่ไม่ควรละเลยในเว็บไซต์ขนาดเล็ก มีดังนี้
1.วางแผนภาพรวมของเว็บไซต์ การวางตำแหน่งของเนื้อหา และเนวิเกชัน โดยอาจวาดรูปร่างคร่าวๆ ของเว็บไซต์ไว้ก่อนว่าจะจัดวางตำแหน่งอย่างไร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้พัฒนาเว็บไซต์เองจะได้ไม่เสียเวลาในภายหลังด้วย
2.แทรก Meta tags ในเว็บไซต์ของคุณ อ่านบทความเกี่ยวกับ Mete tags คลิกที่นี่
3.อย่าใส่ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวได้มากเกินไป ในหลายๆเว็บไซต์จะเห็นได้ว่ามีการใส่กราฟิกภาพเคลื่อนไหวได้จำนวนมาก ทั้งเป็น Flash หรือ gif เพื่อดึงดูดความสนใจ หรือเพื่อเน้นส่วนต่างๆในเว็บไซต์ แต่การใช้ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวมากเกินไป จะก่อนให้เกิดความสับสนต่อผู้ใช้งานได้ ดังนั้นเราจึงควรใช้แต่พอดีเน้นในส่วนที่ต้องการเน้นเท่านั้น บางเว็บไซต์อาจใช้งาน Javascript เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับเว็บไซต์ แต่ถ้าเราใช้งานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความสับสน หรือเป็นอุปสรรคในการใช้งานของผู้เข้าชมได้
อีกข้อที่อยากจะเิตือนคือ flash , javascript หรือ animations ต่างๆนั้น search engine ไม่ได้ในไปรวมในฐานข้อมูลด้วย ดังนั้นข้อมูลที่เราแสดงผลด้วยเครื่องมือดังกล่าวนั้นก็จะไม่ถูก นำไปรวมในฐานข้อมูลของ search engine ด้วย จึงควรระวังในส่วนนี้ให้ดี
4.อย่าให้เว็บไซต์ของคุณ แสดงผลนานกว่า 8 วินาที หรือมีขนาดใหญ่กว่า 40 kb เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เคยพูดถึงหลายครั้งแล้ว แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่มักจะถูกละเลย ตามที่เราได้เคยกล่าวไปแล้วว่า ไม่มีใครอยากรอคอย ถ้าเว็บไซต์ของเราแสดงผลนาน ก็เป็นไปได้อย่างสูงว่าผู้ชมอาจปิดเว็บไซต์เราไปก็ได้
ไฟล์ flash , animation , เพลง , ภาพขนาดใหญ่เป็นตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้ เราจึงควรลดการใช้งาน ซอยสิ่งเหล่าในให้ไปอยู่ในหน้าต่างๆ หรือลดขนาดลง และให้ผู้ชมเลือกเองว่าต้องการดูส่วนใด เราเพียงทำลิงค์ หรือภาพขนาดเล็กเพื่อลิงค์ไปหาภาพขยายใหญ่ไว้ให้
5.ขนาดเว็บไซต์ของคุณ ขนาดเว็บไซต์มีผลอย่างยิ่งกับการแสดงผลในหน้าจอขนาดต่างๆ เราจึงควรกำหนดขนาดเว็บไซต์ไม่ให้เกิน 750px หรือ กำหนดการแสดงผลเป็น % เพื่อลดปัญหาเหล่านี้
6.อย่าเชื่อใจ WYSIWYG HTML editors อย่างเชน Dreamweaver , Frontpage เพราะการแสดงผลเว็บเพจผ่านโปรแกรมพวกนี้ กับการแสดงผลผ่าน web browser ต่างๆอาจไม่เหมือนกัน เราจึงควรตรวจสอบก่อนทุกครั้ง และตรวจสอบด้วย browser อย่างน้อย 2 ชนิดที่ได้รับความนิยม คือ 1. Internet Explorer 2.Firefox
7.การเว้นช่องว่าง การเว้นช่องว่างระหว่างวัตถุ เช่นช่องว่างของตัวอักษรในตาราง ช่องไฟระหว่างตัวอักษรด้วยกันเอง เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก การเว้นช่องว่างระหว่าง ตัวอักษร จะทำให้เกิดความสาวงาม อ่านสบายตา การเว้นช่องว่างในตาราง ทำให้ตารางดูสวยงามขึ้น เราสามารถใช้ CSS ในการควบคุมสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดได้ และควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
8.การใช้สีในเว็บเพจสีก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากในเว็บเพจ สีที่ต่างกันให้อารมณ์ต่างกัน เราจึงควรเลือกสีให้เหมาะกับเนื้อหา หรือกลุ่มผู้ชม ถ้าเลือกสีฉุดฉาดก็เหมาะกับกลุ่มเด็ก เลือกสีเข้มจะเหมาะกับกลุ่มผู้ใหญ่อ่านเรื่องจิตวิทยาเกี่ยวกับสีคลิกที่นี่
สำหรับในส่วนสีที่ใช้แสดงเนื้อหานั้น อย่าใช้สีตัวอักษรโทนดำ บนพื้นหลังสีดำ หรืออย่าใช้สีตัวอักษรโทนขาว ในพื้นหลังโทนขาว เพราะจะทำให้อ่านตัวอักษรได้ยาก สีที่เหมาะจะแสดงตัวอักษรดีสุดคือ ตัวอักษรสีดำ พื้นสีขาว สีเหลืองเหมาะสำหรับใช้เน้นข้อความสำคัญ
9.ระวังเรื่องหน้าต้อนรับหลายๆเว็บไซต์นิยมจะให้หน้าแรก เป็นหน้ากล่าวคำยินดีต้อนรับ หรือหน้าแจ้งข่าวสารต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก เพราะจะส่งผลต่อ เนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณใน Search Engine และอันดับที่ปรากฏใน Search Engine
10.Pop upไม่แนะนำให้ใช้ pop up เนื่องมาจากว่า browser ส่วนใหญ่ตอนนี้จะตัดไม่แสดงผล pop up อยู่แล้ว ทำให้ข้อมูลที่อยู่ใน pop up ก็ไม่แสดงผลไปด้วย และการใช้ pop up เหมือนกับการใช้เพื่อโฆษณาซะมากกว่า
1.วางแผนภาพรวมของเว็บไซต์ การวางตำแหน่งของเนื้อหา และเนวิเกชัน โดยอาจวาดรูปร่างคร่าวๆ ของเว็บไซต์ไว้ก่อนว่าจะจัดวางตำแหน่งอย่างไร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้พัฒนาเว็บไซต์เองจะได้ไม่เสียเวลาในภายหลังด้วย
2.แทรก Meta tags ในเว็บไซต์ของคุณ อ่านบทความเกี่ยวกับ Mete tags คลิกที่นี่
3.อย่าใส่ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวได้มากเกินไป ในหลายๆเว็บไซต์จะเห็นได้ว่ามีการใส่กราฟิกภาพเคลื่อนไหวได้จำนวนมาก ทั้งเป็น Flash หรือ gif เพื่อดึงดูดความสนใจ หรือเพื่อเน้นส่วนต่างๆในเว็บไซต์ แต่การใช้ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวมากเกินไป จะก่อนให้เกิดความสับสนต่อผู้ใช้งานได้ ดังนั้นเราจึงควรใช้แต่พอดีเน้นในส่วนที่ต้องการเน้นเท่านั้น บางเว็บไซต์อาจใช้งาน Javascript เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับเว็บไซต์ แต่ถ้าเราใช้งานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความสับสน หรือเป็นอุปสรรคในการใช้งานของผู้เข้าชมได้
อีกข้อที่อยากจะเิตือนคือ flash , javascript หรือ animations ต่างๆนั้น search engine ไม่ได้ในไปรวมในฐานข้อมูลด้วย ดังนั้นข้อมูลที่เราแสดงผลด้วยเครื่องมือดังกล่าวนั้นก็จะไม่ถูก นำไปรวมในฐานข้อมูลของ search engine ด้วย จึงควรระวังในส่วนนี้ให้ดี
4.อย่าให้เว็บไซต์ของคุณ แสดงผลนานกว่า 8 วินาที หรือมีขนาดใหญ่กว่า 40 kb เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เคยพูดถึงหลายครั้งแล้ว แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่มักจะถูกละเลย ตามที่เราได้เคยกล่าวไปแล้วว่า ไม่มีใครอยากรอคอย ถ้าเว็บไซต์ของเราแสดงผลนาน ก็เป็นไปได้อย่างสูงว่าผู้ชมอาจปิดเว็บไซต์เราไปก็ได้
ไฟล์ flash , animation , เพลง , ภาพขนาดใหญ่เป็นตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้ เราจึงควรลดการใช้งาน ซอยสิ่งเหล่าในให้ไปอยู่ในหน้าต่างๆ หรือลดขนาดลง และให้ผู้ชมเลือกเองว่าต้องการดูส่วนใด เราเพียงทำลิงค์ หรือภาพขนาดเล็กเพื่อลิงค์ไปหาภาพขยายใหญ่ไว้ให้
5.ขนาดเว็บไซต์ของคุณ ขนาดเว็บไซต์มีผลอย่างยิ่งกับการแสดงผลในหน้าจอขนาดต่างๆ เราจึงควรกำหนดขนาดเว็บไซต์ไม่ให้เกิน 750px หรือ กำหนดการแสดงผลเป็น % เพื่อลดปัญหาเหล่านี้
6.อย่าเชื่อใจ WYSIWYG HTML editors อย่างเชน Dreamweaver , Frontpage เพราะการแสดงผลเว็บเพจผ่านโปรแกรมพวกนี้ กับการแสดงผลผ่าน web browser ต่างๆอาจไม่เหมือนกัน เราจึงควรตรวจสอบก่อนทุกครั้ง และตรวจสอบด้วย browser อย่างน้อย 2 ชนิดที่ได้รับความนิยม คือ 1. Internet Explorer 2.Firefox
7.การเว้นช่องว่าง การเว้นช่องว่างระหว่างวัตถุ เช่นช่องว่างของตัวอักษรในตาราง ช่องไฟระหว่างตัวอักษรด้วยกันเอง เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก การเว้นช่องว่างระหว่าง ตัวอักษร จะทำให้เกิดความสาวงาม อ่านสบายตา การเว้นช่องว่างในตาราง ทำให้ตารางดูสวยงามขึ้น เราสามารถใช้ CSS ในการควบคุมสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดได้ และควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
8.การใช้สีในเว็บเพจสีก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากในเว็บเพจ สีที่ต่างกันให้อารมณ์ต่างกัน เราจึงควรเลือกสีให้เหมาะกับเนื้อหา หรือกลุ่มผู้ชม ถ้าเลือกสีฉุดฉาดก็เหมาะกับกลุ่มเด็ก เลือกสีเข้มจะเหมาะกับกลุ่มผู้ใหญ่อ่านเรื่องจิตวิทยาเกี่ยวกับสีคลิกที่นี่
สำหรับในส่วนสีที่ใช้แสดงเนื้อหานั้น อย่าใช้สีตัวอักษรโทนดำ บนพื้นหลังสีดำ หรืออย่าใช้สีตัวอักษรโทนขาว ในพื้นหลังโทนขาว เพราะจะทำให้อ่านตัวอักษรได้ยาก สีที่เหมาะจะแสดงตัวอักษรดีสุดคือ ตัวอักษรสีดำ พื้นสีขาว สีเหลืองเหมาะสำหรับใช้เน้นข้อความสำคัญ
9.ระวังเรื่องหน้าต้อนรับหลายๆเว็บไซต์นิยมจะให้หน้าแรก เป็นหน้ากล่าวคำยินดีต้อนรับ หรือหน้าแจ้งข่าวสารต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีสำหรับเว็บไซต์ขนาดเล็ก เพราะจะส่งผลต่อ เนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณใน Search Engine และอันดับที่ปรากฏใน Search Engine
10.Pop upไม่แนะนำให้ใช้ pop up เนื่องมาจากว่า browser ส่วนใหญ่ตอนนี้จะตัดไม่แสดงผล pop up อยู่แล้ว ทำให้ข้อมูลที่อยู่ใน pop up ก็ไม่แสดงผลไปด้วย และการใช้ pop up เหมือนกับการใช้เพื่อโฆษณาซะมากกว่า
25 ข้อผิดพลาดในการทำเว็บไซต์
อย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วว่าในโลกของอินเทอร์เนตนั้นมีเว็บไซต์มากมาย ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่มีคู่แข่งเช่น เว็บไซต์ขายของ แน่นอนว่าลูกค้าจะมีตัวเลือกมากมาย ดังนั้นการทำเว็บไซต์ที่ดีจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนี่งที่ทำให้คุณอยู่เหนือตัวเลือกอื่นๆ
การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้นจะเริ่มตัดสินกันตั้งแต่ การที่ผู้ใช้เห็นเว็บคุณเป็นครั้งแรก เราจะต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งาน เพื่อให้เค้ากลับมาใช้เว็บของเราอีกครั้ง แน่นอนว่าเรามีเวลาไม่มากในการสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ถ้าจะวัดกันคร่าวๆก็น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 20 วินาที รวมเวลาการดาวน์โหลดเว็บเพจแล้ว จะเห็นว่าเวลานั้นน้อยมาก เนื่องมาจากว่าทุกวันนี้คนเราเริ่งรีบกันมากและมีตัวเลือกมากมายให้เลือก ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นคุณต้องการทำเว็บไซต์เพื่อขายของ ทุกวันนี้คุณมีคู่แข่งมากมาย และเว็บไซต์ของคุณอยู่ห่างจากเว็บไซต์ของคนอื่นแค่คลิกเดียวเท่านั้น
การทำเว็บไซต์ที่ดีนั้นจะเริ่มตัดสินกันตั้งแต่ การที่ผู้ใช้เห็นเว็บคุณเป็นครั้งแรก เราจะต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งาน เพื่อให้เค้ากลับมาใช้เว็บของเราอีกครั้ง แน่นอนว่าเรามีเวลาไม่มากในการสร้างความประทับใจให้ลูกค้า ถ้าจะวัดกันคร่าวๆก็น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 20 วินาที รวมเวลาการดาวน์โหลดเว็บเพจแล้ว จะเห็นว่าเวลานั้นน้อยมาก เนื่องมาจากว่าทุกวันนี้คนเราเริ่งรีบกันมากและมีตัวเลือกมากมายให้เลือก ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นคุณต้องการทำเว็บไซต์เพื่อขายของ ทุกวันนี้คุณมีคู่แข่งมากมาย และเว็บไซต์ของคุณอยู่ห่างจากเว็บไซต์ของคนอื่นแค่คลิกเดียวเท่านั้น
นี่คือข้อผิดพลาด 25 ข้อที่ควรหลีกเลี่ยงในการทำเว็บไซต์
1. เว็บไซต์ของคุณแสดงผลได้ช้ามากๆพูดง่ายๆก็คือเว็บของคุณโหลดได้ช้ามาก ผู้ใช้งานต้องเสียเวลาในการรอให้เว็บไซต์ของคุณแสดงผลนานมาก แน่นอนว่าเวลาในการแสดงผลของเว็บไซต์มีหลายปัจจัย เช่น ความสามารถของ web server , ความเร็วของอินเตอร์เนตของผู้ใช้งาน แต่ปัจจัยต่างๆนั้นเป็นแค่ปลายเหตุเท่านั้น ต้นเหตุที่เราสามารถควบคุมได้อยู่ที่ขนาดของเว็บเพจ
ขนาดของเว็บเพจนั้นไม่ควรเกิน 60 KB ขนาดของเว็บเพจที่เพิ่มขึ้นมีเหตุมาจาก รูปภาพที่คุณใช้มีขนาดใหญ่เกินไป , การเปิดเพลงประกอบในเว็บไซต์ของคุณ (ทำให้ผู้ชมต้องเสียเวลาในการดาวน์โหลดเพลง แน่นอนว่าไฟล์เพลงเป็นไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 60 KB อยู่แล้ว) , การใช้ไฟล์ flash ที่มีขนาดใหญ่เกินไป ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
2.ไม่มีเนวิเกชัน
เนวิเกชัน คือ ส่วนที่ใช้ลิงค์ไปยังหน้าต่างๆของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่นเมนูทางซ้ายมือของ hellomyweb.com จะเห็นว่ามีลิงค์ไปยังส่วนต่างๆของเว็บไซต์ เช่น ลองทำเว็บไซต์ แบบง่ายๆ , พื้นฐานเกี่ยวกับเว็บไซต์
เว็บไซต์ที่ดีควรมีเนวิเกชันในทุกหน้า เพราะในปัจจุบันเราทราบดีอยู่แล้วว่ากว่า 80% ของผู้ใช้งานรู้จักเว็บไซต์ของเราจาก search engine ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถกำหนดได้ว่าให้ search engine แสดงหน้าใดให้ผู้ใช้งานดู ถ้า search engine แสดงผลในหน้าที่ไม่มีเนวิเกชัน อาจทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้ว่าเว็บไซต์ของคุณมีแค่หน้าที่แสดงผลเพียงหน้าเดียว
การแสดงผลเนวิเกชันควรแสดงผลในตำแหน่งเดียวกัน เพราะถ้าเราเปลี่ยนตำแหน่งอาจทำให้ผู้ใช้งานสับสนได้
3. การใช้สีสันที่แสบตา
หลายคนคงเคยเห็นเว็บไซต์ที่ใช้สีพื้นหลังเป็นสีโทนสว่างมากๆเช่น สีส้ม สีเหลือง แล้วใช้ตัวอักษรในโทนสว่างอีกเช่นเดียวกันเช่น สีฟ้า ทำให้การอ่านเนื้อหาในเว็บเพจทำได้ยากมากๆ ถึงแม้จะทำให้เว็บไซต์ดูสวยงาม ก็ควรหลีกเลี่ยง การใช้พื้นหลังโทนมืด และตัวหนังสือโทนสว่าง เป็นตัวเลือกที่ดีในการทำเว็บไซต์ หรือพื้นหลังสีขาว ตัวหนังสือสีดำก็เป็นสิ่งที่นิยมใช้กันมาก
4. การสะกดคำผิด
การสะกดคำผิดพลาด การเขียนผิด หรือการใช้ภาษาวิบัติ ก็ไม่ควรให้มีในเว็บไซต์ เพราะจะส่งผลให้เข้าใจผิดพลาดได้
5. เนื้อหาในเว็บเพจ
ผู้ใช้งานเว็บไซต์ส่วนใหญ่ไม่เคยอ่านเนื้อหาของเว็บไซต์อย่างจริงจัง หรือตั้งใจอ่านอย่างที่เราต้องการ ดังนั้นเราจึงควรทำให้เนื้อหาของเราอ่านได้ง่ายขึ้น เช่น ใช้การเว้นวรรค การใส่ย่อหน้า และการเขียนให้กระชับที่สุด เน้นส่วนของข้อความที่เราต้องการสื่อให้มากที่สุด
6. ขนาดของตัวอักษร และชนิดของตัวอักษร font
ในบางครั้งการแสดงตัวอักษรที่เล็กเกินไป หรือใหญ่เกินไป ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของ browser ของผู้ใช้ ก็เป็นอุปสรรคในการอ่านเนื้อหาของเว็บไซต์
ข้อแนะนำคือเราควรใช้ CSS ในการควบคุมการแสดงผลตัวอักษรให้เป็นไปในทางเดียวกัน จะทำให้เว็บไซต์ของเราดูดี และอ่านได้ง่ายขึ้น
7. การเว้นวรรค , การเว้นบรรทัด และการจัดช่องไฟของตัวอักษร
เราสามารถใช้คำสั่ง CSS ในการจัดช่องไฟของตัวอักษรได้ การจัดช่องไฟให้ตัวอักษร การเว้นวรรคที่ดี และการเว้นบรรทัดของเนื้อหาที่ดี ก็ทำให้เว็บไซต์ของเราดูดีขึ้นได้มากทีเดียว
8. การใส่เพลงประกอบเว็บไซต์ โดยที่ผู้ใช้งานไม่สามารถปิดมันได้
ถ้าคุณมีความจำเป็นที่จะต้องใส่เพลงประกอบเว็บไซต์ของคุณ อาจเพื่อจูงใจลูกค้า คุณต้องแน่ใจว่าได้ทำปุ่มสำหรับปิดเพลงนั้นไว้ โดยที่ผู้ใช้งานสามารถปิดมันได้โดยง่าย และเห็นมันอย่างชัดเจน มิฉนั้นเพลงที่คุณใส่ไปอาจส่งผลทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกหงุดหงิดได้
9.การทำเว็บไซต์โดยไม่ได้วางองค์ประกอบของหน้ามาก่อน
องค์ประกอบของหน้ามีความสำคัญมาก ถ้าคุณไม่ได้วางองค์ประกอบของหน้ามาก่อนจะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น
การใส่เนื้อหาในหน้ามากเกินไป คุณอาจเห็นหลายเว็บไซต์ที่ใช้พื้นที่ของหน้าแทบจะทุกจุดของเว็บเพจก็ว่าได้ อย่างที่เคยบอกไปว่าผู้ใช้งานไม่เคยตั้งใจอ่านเนื้อหาอย่างจริงจัง การใส่เนื้อหาที่มากไปจะทำให้คุณไม่สามารถสื่ออะไร หรือบอกอะไรได้เลย ดังนั้นจึงควรใส่เนื้อหาที่คุณอยากจะสื่อ และแบ่งสัดส่วนต่างๆให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนเห็นได้ชัดเจน รูปแบบเว็บไซต์ในแต่ละหน้าก็มีความสำคัญมาก คุณไม่ควรเปลี่ยนรูปแบบของเว็บไซต์ในแต่ละหน้าให้แตกต่างกันมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจผิดได้
10. การทำหน้าเว็บเพจที่ยาวเกินไป
เนื้อหาที่ยาวจนเกินไปไม่ส่งผลดีต่อเว็บไซต์แน่นอน เพราะนอกจากจะทำให้การแสดงผลเว็บเพจนั้นช้าแล้ว ยังส่งผลผู้ใช้งานรู้สึกเบื่อด้วย
ดังนั้นเราจึงควรแบ่งเนื้อหาเป็นตอนๆ และให้ผู้ใช้งานโหลดทีละตอนจะดีกว่า
11.การทำลิงค์ที่ผิดพลาด
ลิงค์เป็นส่วนที่สำคัญมากของเว็บไซต์ เพราะจะเป็นส่วนที่นำเราไปยังส่วนอื่นๆของเว็บไซต์ เราจึงควรทำให้ส่วนที่เป็นลิงค์มีความชัดเจนในตัวเอง และถ้าไม่จำเป็นไม่ควรเปลี่ยนสีของลิงค์
12. ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง
คำนี้ไม่ควรให้มีในเว็บเพจของคุณเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ใช้งานผิดหวังที่จะต้องรอหน้าที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงแล้ว ยังทำให้รู้สึกว่าเว็บไซต์ของคุณยังไม่สมบรูณ์ ยังไมได้มาตราฐาน
13. ไม่ตรวจสอบเว็บไซต์ก่อน
การตรวจสอบเว็บไซต์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการแสดงผลใน browser กับการแสดงผลตอนที่เราเขียนเว็บเพจอาจไม่เหมือนกันก็ได้
ดังนั้นเราจึงควรตรวจสอบเว็บเพจทุกหน้า ถ้าจะให้ดีควรใช้หลายๆ browser ในการตรวจสอบ
14. เนวิเกชันที่ไม่สื่อความหมาย
การใช้เนวิเกชันที่ไม่สือความหมาย เมื่อคลิกแล้วไม่สามารถเปิดหน้าที่ลิงค์ไว้ได้ มีข้อผิดพลาด (error) ในเนวิเกชัน และมีหลายปุ่มให้เลือกมากเกินไป จะส่งผลต่อผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก เนวิเกชันที่ดีควรมีการแบ่งหมวดหมู่ที่ดี ไม่ซับซ้อนจนเกินไป และควรครอบคลุมส่วนต่างๆของเว็บไซต์ หรือหน้าเว็บไซต์ใหญ่มาก ก็ควรครอบคลุมในหมวดนั้นๆ การใช้คำก็เป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้คำที่สื่อความหมายชัดเจนไม่คลุมเครือ หรือเป็นคำที่เข้าใจกันเฉพาะกลุ่มไม่ควรใช้
15. ทำเว็บไซต์อย่างลวกๆ
การทำเว็บไซต์อย่างลวกๆ เช่น คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่นมา แล้วมีการตกหล่น หรือไม่มีภาพแสดงเหมือนเว็บไซต์ต้นฉบับ การพิมพ์ผิด หรือการเขียนข้อความที่ไม่สื่อความหมาย การใช้ภาษาวิบัติ เนื้อหาของเว็บไซต์คือทุกอย่างของเว็บไซต์ เราจึงควรให้ความสำคัญกับเนื้อหาให้มากๆ อย่าให้เกิดข้อผิดพลาด หรือผิดพลาดให้น้อยที่สุด
16.ไม่เคยอัพเดทเว็บไซต์เลย
การอัพเดทเว็บไซต์เป็นประจำก็ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความมั่นใจ ว่าเว็บไซต์ของเรายังมีผู้ดูแลอยู่ และเนื้อหายังได้รับการปรับปรุงอยู่ นอกจากนี้ยังส่งผลต่ออันดับใน search engine อีกด้วย
17. จำนวนคลิกเพื่อเข้าถึงข้อมูลมากเกินไป
หลายๆเว็บไซต์จะเก็บเนื้อหาในส่วนที่คิดว่าดีเอาไว้ โดยผู้ใช้งานจะต้องผ่านการคลิกนับครั้งไม่ถ้วน ผ่านโฆษณามากมายกว่าจะมาถึงเนื้อหาที่สนใจได้ นับว่าเป็นสิ่งที่ผิดพลาดอย่างมาก อย่าที่บอกไปว่าเว็บของเราห่างจากเว็บอื่นเพียงคลิกเดียว ถ้าเราทำให้เกิดความลำบากยากเย็นในการเข้าถึงเนื้อหา หรือส่วนที่ผู้ใช้งานสนใจ ก็ทำให้ผู้ใช้งานท้อ หรือล้มเลิกความตั้งใจที่จะใช้งานต่อไปได้
จำนวนคลิกที่มากที่สุดที่คุณควรทำคือ ไม่เกิน 3 คลิก ที่จะทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงส่วนที่เค้าสนใจ
18. สร้างความมั่นใจในส่วนของความปลอดภัยแก่ผู้ใช้
ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ขายของ หรือทำธุระกิจต่างๆ ก็ควรสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าว่าพวกเค้าจะไม่โดนหลอก เช่น การจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ หรือไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆของลูกค้า
19. ไม่มีที่อยู่ หรือที่ติดต่อกลับ
เว็บไซต์ทางธุระกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีส่วนของ ติดต่อเรา , contact information , ที่อยู่บริษัท , เบอร์โทรศัพท์ , email สิ่งพวกนี้เป็นสิ่งจำเป็นทั้งสิ้นที่จะต้องมีในเว็บ
20. การใช้ Free web hosting
ถ้าคุณเป็นเว็บเกี่ยวกับธุระกิจแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องมีชื่อ domain name เป็นของตัวเอง และจะต้องมี web hosting เป็นของตัวเองไม่ว่าจะเช่า หรือจะซื้อมาเอง เราะจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าของคุณเป็นอย่างยิ่ง
21. การใช้ Free E-mail addresses
ในปัจจุบันมี free email มากมายเช่น hotmail , gmail แต่พวกนี้เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ควรใช้ email ที่เป็นของคุณเอง มาจาก domain name ของคุณ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งกับความน่าเชื่อถือของ email ของคุณที่ส่งไปยังลูกค้า
22. โฆษณาที่มีมากจนเกินไป
โฆษณาเป็นรายได้หลักของเว็บไซต์บางประเภท แต่การที่เราใส่โฆษณามากเกินไปจะส่งผลต่อเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ เพราะจะทำให้ผู้ใช้สับสนระหว่าง เนื้อหาที่แท้จริงกับโฆษณาที่แทรกอยู่
23. รูปภาพ
รูปภาพก็เป็นส่วนสำคัญของเว็บไซต์เราจึงควรดูและส่วนนี้ให้ดี ไม่ควรให้เกิดการผิดพลาดในการแสดงรูปภาพ และควรบีบอัดไฟล์รูปให้ถูกต้องกับรูปแบบ อ่านเรื่องนี้ได้ที่นี่
24. เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีที่สุดในขนาด 1024 x 768
การกำหนดขนาดที่ใช้ในการแสดงผล หรือ browser ที่ใช้แสดงผลเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันเรามีหน้าจอหลายรูปหลายขนาดมากมาย ตั้งแต่ 14 นิ้ว จนถึง 20 กว่านิ้ว ทั้งแบบ wide screen และแบบทั่วไป การกำหนดขนาดแสดงผลจึงไม่ควรทำ
เราควรทำให้เว็บไซต์ของเราแสดงผลได้ถูกต้องทุกๆ แบบของหน้าจอ ทุกๆขนาด ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากเพราะเรามี CSS เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้มากทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องของ CSS layout
25. ไม่ใส่ราคา
การไม่ใส่ราคาในเว็บไซต์ขายของ หรือแนะนำสินค้า อาจเป็นกลยุทธ์ของผู้ขาย แต่สิ่งนี้ใช้ไม่ได้ในโลกของอินเทอร์เนตอย่างแน่นอน เพราะถ้าเว็บไซต์ของคุณไม่บอกก็ต้องมีเว็บไซต์อื่นที่สามารถบอกราคาได้ และลูกค้าที่เคยจะเป็นของคุณก็จะเป็นของคนอื่นแทน
ดังนั้นเราจึงควรใส่รายละเอียดต่างๆของสินค้าให้ครบถ้วน ถูกต้องตามข้อมูลที่เรามีทั้งหมด
ที่มา :: http://www.hellomyweb.com/index.php/main/content/73
ส่วนประกอบของเว็บไซต์ที่ดี
สำหรับคนที่เริ่มต้นออกแบบเว็บไซต์ในครั้งแรกไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรดี บทความนี้จะแนะนำวิธีการในการออกแบบเว็บไซต์ที่เว็บทั่วไปควรมี ดังรูปที่เห็นด้านบนเป็นโครงสร้างของเว็บไซต์โดยจะมีส่วนหลักๆอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ส่วนดังนี้
Containing block
โดยปรกติเราจะเขียน <div> หรือ <table> ต่อจาก <body> เพื่อเอาไว้เก็บเนื้อหาทั้งหมดของเว็บไซต์ก่อน เพื่อเอาไว้เป็นกล่องในการเก็บเนื้อหาทั้งหมด โดยกล่องของเราจะมีข้อดีอยู่ตรงที่ สามารถทำให้ปรับเปลี่ยนขนาดในการแสดงผลของเนื้อหาได้ หรือตำแหน่งการแสดงผลของเว็บไซต์ได้เช่น จัดกลาง ชิดซ้าย หรือชิดขวา หากนึกภาพไม่ออก ลองเขียนเว็บไซต์โดยเริ่มที่ใส่ตัวหนังสือลงไปก่อน จากนั้นหากต้องการจัดตัวหนังสือเหล่านั้นจะทำได้ยากมาก ดังนั้นทุกครั้งที่ออกแบบเว็บไซต์อย่างลืมที่จะสร้าง containing block เอาไว้ใส่เนื้อหาทั้งหมดก่อน เพื่อความสะดวกของเราเอง
Logo
เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงตัวตนของเรา ทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานจดจำเราได้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้การออกแบบเว็บไซต์นั้นจำเป็นต้องมีโลโก้ ของเว็บไซต์เป็นอย่างยิ่ง ส่วนตำแหน่งที่ควรจะวางโลโก้ไว้คือตำแหน่งที่เป็นสีม่วงทั้งหมดนั่นเอง จะสังเกตได้ว่าจะเป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเว็บไซต์ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ใช้งานจำได้ และสะดุดตา เรื่องที่ต้องเตือนให้รู้กันก็คือ โลโก้ของเว็บไซต์เมื่อคลิกจะนำไปสู่หน้าแรกของเว็บไซต์เสมอ
Navigation
เป็นส่วนที่จะนำผู้เข้าชมเว็บไซต์ไปยังส่วนต่างของเว็บไซต์ โดยสามารถทำให้อยู่ในแนวนอน หรือแนวตั้งก็ได้ หากสังเกต hellomyweb.com เราจะทำทั้งแนวตั้งและแนวนอน โดยแนวนอนจะนำไปสู่เนื้อหาหน้าอื่นของเว็บไซต์ ส่วนแนวตั้งจะนำไปสู่เนื้อหาย่อยในหน้านั้น ตำแหน่งที่ควรจะวาง navagation เอาไว้คือสีเขียวทั้งหมด ถ้าสังเกตดูจะพบว่าการวางตำแหน่งต้องพยายามให้อยู่ในส่วนด้านบนของเว็บไซต์ หรือจะพูดอีกอย่างคือส่วนที่เมื่อผู้ใช้เปิดมาก็ต้องเจอได้ทันที ไม่ควรวางไว้ในตำแหน่งที่ผู้ใช้จะต้องเลื่อนขึ้นลง ซ้ายขวา
Content
ส่วนเนื้อหาของเว็บไซต์ เป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด หากผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายผู้ใช้งานจะเปลี่ยนไปชมเว็บใหม่ทันที ตำแหน่งที่ควรวางเนื้อหาไว้คือสีแดง หรือตำแหน่งอื่นๆที่คิดว่าจะทำให้ผู้หาเจอได้โดยไม่ลำบาก หากสังเกตดูจะพบว่าเว็บไซต์บางเว็บไซต์มีโฆษณาที่มากจนเกินไป ทำให้ผู้ใช้งานหาเนื้อหาไม่เจอ นั่นถือเป็นการออกแบบที่ผิดพลาด
Footer
คือส่วนล่างสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนใหญ่จะเก็บลิงก์ต่างๆเอาไว้ หรือเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับเว็บไซต์เช่นลิขสิทธิ์ต่างๆ ถามว่าจำเป็นต้องมีหรือไม่ บอกได้ว่าจำเป็นอย่างยิ่ง footer จะเป็นตัวบอกผู้ชมว่าส่วนนี้คือล่างสุดของหน้าที่กำลังแสดงอยู่แล้วนะ ไม่มีเนื้อหาเพิ่มเติมแล้ว ทำไม่ต้องบอกเนื่องจากการแสดงเว็บไซต์ในบางครั้งนั้นหน้านั้นอาจโหลดได้ไม่หมด อาจแสดงได้แค่เนื้อหาภายใน หากเราออกแบบให้มี footer ตั้งแต่แรกผู้ใช้งานก็จะรู้ได้ทันทีว่าหน้าที่แสดงผลนี้อาจแสดงได้ไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่เห็น footer และยังมีผลต่อภาพลักษณ์ของเว็บไซต์โดยตรง เราจะสังเกตได้ว่าเมื่อเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่มี footer จะรู้สึกเหมือนกับว่าเว็บไซต์นั้นยังทำไม่เสร็จ หรือขาดอะไรบางอย่าง
Whitespace
พื้นที่ว่างในเว็บไซต์ คนส่วนใหญ่มักไม่เห็นความสำคัญของการเว้นพื้นที่ว่างไว้ในเว็บไซต์ เรามักจะใส่ภาพหรือตัวหนังสือเข้าไปให้มากที่สุดเพราะคิดว่าจะทำให้เว็บดูสวยงามขึ้น หรือใช้พื้นที่มีมีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด หากเราออกแบบโดยไม่ได้คำนึงว่าต้องมีพื้นที่ว่างอยู่ในเว็บไซต์ จะทำให้เว็บของเรานั้นดูอึดอัดทันที การเว้นช่องว่างเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างระหว่างตัวอักษร หรือช่องว่างระหว่างภาพ เนื้อหาต่างๆ นอกจากจะทำให้เว็บของเราดูสบายตาขึ้นแล้ว ยังทำให้เราสามารถกำหนดจุดที่จะให้ผู้ใช้งานเว็บรู้สึกสนใจในจุดนั้นได้อีกด้วย เช่นหากเราเว้นช่องว่างเอาไว้ตรงกลาง และนำภาพหรือตัวหนังสือเล็กๆไปวางไว้ ตรงจุดนั้นจะเป็นที่สนใจของผู้ใช้ทันที
ที่มา :: http://www.hellomyweb.com/index.php/main/content/134
MV PV OPV Fancam แตกต่างกันอย่างไร
ในโลกของผู้ชื่นชอบนักร้องเกาหลี ล้วนมีการติดตาม หรือ ดูคลิปวิดิโอต่างๆจากโลกอินเตอร์เน็ต เพราะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยติดตามข่าวสาร ได้อีกวิธี แต่ยังคงมีคำเกี่ยวกับประเภทต่างๆของวิดิโอ ที่อาจทำให้ใครหลายๆคนสงสัยได้ ว่าสิ่งเหล่านี้คืออะไร
MV >> Music Video
ตามความหมายเลยก็คือ Music Video เป็นการนำเสนอเพลงเหล่านั้น ผ่านวิดิโอ โดยเนื้อหาในเอ็มวีบางเพลงนั้นอาจจะใกล้เคียงกับเรื่องสั้น หรืออาจถ่ายเฉพาะศิลปินเจ้าของเพลงแสดงถ่ายทองอารมณ์ มท่าเต้น การแสดงของเพลงนี้ ซึ่งเอ็มวีของแต่ละศิลปินหรือแต่ละค่ายเพลงนั้น ก็ทำแตกต่างกันไป
PV >> Promotion Video
คำนี้อาจจะยังพอได้ยินในวงการ Kpop ไม่ค่อยมาก แต่ศิลปิน Kpop ที่ไปเดบิวต์ญี่ปุ่นอาจจะมีวิดิโอประเภทนี้
โดยที่ญี่ปุ่นเค้าเรียกว่า PV เพราะว่า MV ของญี่ปุ่นเค้าจะไม่ค่อยเปิดกันบ่อย ๆ เหมือนของไทยหรือต่างประเทศ
จะเน้นให้ศิลปินไปร้องสดตามรายการทีวีจึงมักเรียกว่า promotion video
คือเป็น video ที่ทำมาเพื่อโปรโมทเพลงนั้น ๆ (ข้อมูลจาก :: Songjapan)
OPV >> Original Promotion Video
OPV คือ Original Promotional Videos (หรือบางครั้งเรียกว่า Other People's Videos) ซึ่งเป็น unofficial music videos คือ มิวสิควิดิโอที่ไม่ใช่ของทางต้นสังกัดของนักร้อง ดารา ผลิตหรือจัดทำ แต่เป็นแฟนคลับทำขึ้นมาเองอาจจะเป็นในช่วงโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิดของศิลปินดาราที่ชื่นชอบ โดยใช้เพลงของทางค่ายเพลงที่เป็น Official แต่ภาพที่แสดงเป็นการตัดต่อของแฟนคลับทำขึ้นประกอบเพลง
Fancam
แฟนแคม หมายถึง คลิปวิดิโอที่แฟนคลับหรือผู้ติดตามนั้น ตามถ่ายศิลปินตามสถานที่หรืองานอีเว้นท์ต่างๆ โดยผู้ถ่ายแฟนแคมนั้น อาจเป็นแฟนคลับที่ชื่นชมศิลปินนั้น หรืออาจเป็นกลุ่มคนตามถ่ายแฟนแคมมืออาชีพทั่วไปก็ได้
MV >> Music Video
ตามความหมายเลยก็คือ Music Video เป็นการนำเสนอเพลงเหล่านั้น ผ่านวิดิโอ โดยเนื้อหาในเอ็มวีบางเพลงนั้นอาจจะใกล้เคียงกับเรื่องสั้น หรืออาจถ่ายเฉพาะศิลปินเจ้าของเพลงแสดงถ่ายทองอารมณ์ มท่าเต้น การแสดงของเพลงนี้ ซึ่งเอ็มวีของแต่ละศิลปินหรือแต่ละค่ายเพลงนั้น ก็ทำแตกต่างกันไป
PV >> Promotion Video
คำนี้อาจจะยังพอได้ยินในวงการ Kpop ไม่ค่อยมาก แต่ศิลปิน Kpop ที่ไปเดบิวต์ญี่ปุ่นอาจจะมีวิดิโอประเภทนี้
โดยที่ญี่ปุ่นเค้าเรียกว่า PV เพราะว่า MV ของญี่ปุ่นเค้าจะไม่ค่อยเปิดกันบ่อย ๆ เหมือนของไทยหรือต่างประเทศ
จะเน้นให้ศิลปินไปร้องสดตามรายการทีวีจึงมักเรียกว่า promotion video
คือเป็น video ที่ทำมาเพื่อโปรโมทเพลงนั้น ๆ (ข้อมูลจาก :: Songjapan)
OPV >> Original Promotion Video
OPV คือ Original Promotional Videos (หรือบางครั้งเรียกว่า Other People's Videos) ซึ่งเป็น unofficial music videos คือ มิวสิควิดิโอที่ไม่ใช่ของทางต้นสังกัดของนักร้อง ดารา ผลิตหรือจัดทำ แต่เป็นแฟนคลับทำขึ้นมาเองอาจจะเป็นในช่วงโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิดของศิลปินดาราที่ชื่นชอบ โดยใช้เพลงของทางค่ายเพลงที่เป็น Official แต่ภาพที่แสดงเป็นการตัดต่อของแฟนคลับทำขึ้นประกอบเพลง
Fancam
แฟนแคม หมายถึง คลิปวิดิโอที่แฟนคลับหรือผู้ติดตามนั้น ตามถ่ายศิลปินตามสถานที่หรืองานอีเว้นท์ต่างๆ โดยผู้ถ่ายแฟนแคมนั้น อาจเป็นแฟนคลับที่ชื่นชมศิลปินนั้น หรืออาจเป็นกลุ่มคนตามถ่ายแฟนแคมมืออาชีพทั่วไปก็ได้
วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558
เพลง Kpop ยอดฮิตตลอดกาล
ในปัจจุบันมีเพลง K-pop เกิดขึ้นใหม่ๆ อย่างมากมาย จนเกิดการแข่งขันกันในหลายๆวง แต่ก็มีเพลงที่เป็นเพลงติดหูของบรรดาเหล่าแฟนเพลง K-pop รวมถึงคนทั่วไป ที่ได้ฟังอาจร้อง อ๋อ ที่ได้ยินเพลงเหล่านี้
เริ่มต้นกันที่เพลงแรก เพลง Gee ของ Girls' Generation
เกิร์ลกรุ๊ปส์ 9 สาว ที่สร้างปรากฏการณ์ Kpop ฟีเวอร์ไปทั่วเกาหลีและเอเชีย ด้วยเพลงฮิตติดหูอย่างเพลง Gee ที่ครองใจชาวเกาหลี จนได้รับรางวัลประจำรายการเพลงติดกัน 9 สัปดา่ห์ซ้อน นอกจากนี้ยังเป็นการเผยภาพลักษณ์ใหม่ของวงหลังจากถูกอคติมานับนานตั้งแต่ก่อนเปิดตัวในปี 2007 อีกทั้งยังทำให้พวกเธอเป็นเกิร์ลกรุ๊ปส์อันดับ 1 ของ Kpop ตลอดกาลอีกด้วย
เริ่มต้นกันที่เพลงแรก เพลง Gee ของ Girls' Generation
เกิร์ลกรุ๊ปส์ 9 สาว ที่สร้างปรากฏการณ์ Kpop ฟีเวอร์ไปทั่วเกาหลีและเอเชีย ด้วยเพลงฮิตติดหูอย่างเพลง Gee ที่ครองใจชาวเกาหลี จนได้รับรางวัลประจำรายการเพลงติดกัน 9 สัปดา่ห์ซ้อน นอกจากนี้ยังเป็นการเผยภาพลักษณ์ใหม่ของวงหลังจากถูกอคติมานับนานตั้งแต่ก่อนเปิดตัวในปี 2007 อีกทั้งยังทำให้พวกเธอเป็นเกิร์ลกรุ๊ปส์อันดับ 1 ของ Kpop ตลอดกาลอีกด้วย
เพลง Sorry, Sorry ของ Super Junior
มีวงเกิร์ลกรุปส์ก็ต้องมีวงบอยแบนด์ เพลงต่อมาคือเพลง Sorry, Sorry ของ 13 หนุ่ม Super Junior ด้วยเนื้อร้องที่ติดหูอย่าง ซอรี่ ซอรี่ ซอรี่ บวกกับท่าเต้นมาดเท่ห์ เป็นที่จดจำของชาวเอเชีย ส่งผลให้ 13 หนุ่มนี้สามารถสร้างกระแส Kpop ฟีเวอร์ได้อีกวง อีกทั้งเพลงนี้ก็ถูกปล่อยมาใกล้เคียงกับเพลง Gee ด้วย ทำให้กระแส Kpop ยิ่งดังกระฉูดไปอีก
เพลง Nobody ของ Wonder Girls
วงเกิร์ลกรุ๊ปส์ในตำนานอีกวงหนึ่งของวงการ Kpop ภายใต้สังกัด JYP Entertainment หนึ่งในสามค่ายเพลงใหญ่ของเกาหลี เพลงนี้เป็นตำนานของวงการ Kpop ด้วยเพลงที่ติดหู และท่าเต้นที่จดจำได้ง่ายต่อการเต้น ทำให้เป็นเพลงที่ถูกจับตามอง อีกทั้งยังเป็นเกิร์ลกรุ๊ปส์แรกที่ได้ไปตีตลาดวงการเพลงอเมริกาอีกด้วย
เพลง Gangnam Style ของ PSY
ส่งท้ายด้วยเพลงยอดฮิตที่ดังระเบิดไปทั่วโลก จนเป็นกระแสฟีเวอร์อย่างหนักในช่วงปี 2012 เป็นใครไม่ได้ นอกจาก PSY เจ้าของผลงานเพลง Gangnam Style ที่ดังระเบิดด้วยท่าเต้นควบม้าที่เป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังเป็นกระแสที่คนไปเต้นทั่วบ้านทั่วเมือง รวมถึงคนไทยเองด้วย อีกทั้งเพลงนี้ยังได้ครองตำแหน่งยอดวิวของ Music Video สูงที่สุดตลอดกาลอีกด้วย
... นี่เป็นตัวอย่างนักร้องทั้งสี่ ที่ได้สร้างความฮิตให้แก่ชาวเอเชียและชาวโลกได้เข้าถึงเพลง Kpop ด้วย แต่นอกจากนี้ยังมีนักร้องอีกมากมาย ที่ได้สร้างกระแสจนเป็นที่รู้จักทั้งคนเอเชียและคนในทวีปอื่นๆอีกด้วย ซึ่งจะเขียนต่อในเอนทรี่ถัดๆไป ....
วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์
Picture credit: WebDesigner Depot
สิ่งที่ผู้ออกแบบเว็บไซต์จำเป็นต้องเตรียมก่อนการออกแบบจริง
ขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซต์
การออกแบบเว็บไซต์ให้มีข้อมูลและรายละเอียดที่ครบถ้วนและครอบคลุมกับความต้องการ เว็บไซต์มีความสวยงาม อีกทั้งง่ายต่อการดูและปรับเปลี่ยนข้อมูลในภายหลังนั้น ควรมีการวางแผนในการพัฒนาเว็บไซต์ที่ดี ซึ่งพอสรุปขั้นตอนได้ดังนี้คือ
- กำหนดวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ การพัฒนาเว็บไซต์ ควรเริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์ให้เห็นภาพชัดเจนว่าต้องการนำเสนอหรือต้องการให้เกิดผลอะไร เมื่อทราบวัตถุประสงค์แล้วก็จะสามารถกำหนดรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ เช่นลักษณะหน้าตาและสีสันของเว็บเพจ
- กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย เมื่อทราบวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเว็บไซต์แล้ว ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการกำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมายที่จะเข้าชมและใช้บริการเว็บไซต์นี้ เพื่อออกแบบเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเนื้อหา โทนสี กราฟิก และเทคโนโลยีที่นำมาสนับสนุนการสร้างเว็บไซต์
- เตรียมแหล่งข้อมูล เนื้อหาหรือข้อมูลนับเป็นสาระสำคัญของการสร้างเว็บไซต์ ดังนั้นผู้ออกแบบเว็บไซต์จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าต้องนำข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เพื่อให้ข้อมูลบนเว็บไซต์สมบูรณ์ที่สุด
เนื้อหาที่ควรมีในเว็บไซต์
การศึกษาตัวอย่างจากเว็บไซต์ทั่วไป จะช่วยให้เรามองเห็นว่าในเว็บไซต์ของเราควรมีเนื้อหาอะไรบ้าง อย่างไรก็ตามเนื้อหาต่าง ๆ บนเว็บไซต์นั้นไม่มีข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานตายตัว แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะนำเสนอและจุดเด่นที่เราต้องการให้มี ซึ่งจะทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์แตกต่างกันออกไป แต่หลัก ๆ สำคัญแล้ว พอสรุปได้ว่าข้อมูลพื้นฐานที่ควรมีในเว็บไซต์ควรประกอบด้วย
- ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท องค์กร หรือผู้จัดทำ (About Us) คือข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของเว็บไซต์ เพื่อบอกให้ผู้ชมรู้ว่าเราเป็นใคร มาจากไหน และต้องการนำเสนออะไร เช่น วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ ประวัติความเป็นมา สถานที่ตั้งของหน่วยงาน เป็นต้น
- รายละเอียดของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product/Service Information) คือข้อมูลหลักที่เรานำเสนอในเว็บไซต์ ซึ่งหากเป็นเว็บไซต์ทางธุรกิจ ผู้เข้าชมอาจต้องการรู้รายละเอียดของผลิตภัณฑ์หรือบริการในเว็บไซต์ของเรา เพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อสินค้าหรือบริการ แต่หากเป็นเว็บไซต์ที่ให้ความรู้ ส่วนนี้ก็อาจจะประกอบด้วยบทความ ภาพกราฟิก มัลติมีเดีย และการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม
- ข่าวสาร (News / Press Release) อาจเป็นข่าวสารที่ต้องการส่งถึงบุคคลทั่วไปหรือสมาชิก เพื่อให้รับรู้ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับบริษัทหรือเว็บไซต์ของเรา เช่นการเปิดตัวสินค้าบริการใหม่ ๆ โปรโมชั่นสินค้าประจำเดือน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
- คำถามคำตอบ (Frequently Asked Question) คำถามคำตอบมีความจำเป็น เพราะผู้เข้าชมบางส่วนอาจไม่เข้าใจข้อมูลหรือมีปัญหาที่ต้องการสอบถาม การติดต่อทางอีเมล์หรือช่องทางอื่น แม้ว่าจะทำได้แต่เสียเวลา ดังนั้นเราควรคาดการณ์หรือรวบรวมคำถามที่เคยตอบไปแล้วใส่ไว้ในเว็บเพจ ซึ่งผู้เข้าชมที่สงสัยจะสามารถเปิดดุได้ทันที นอกจากนี้ อาจมีเว็บบอร์ดสำหรับให้ผู้ดูแลเว็บไซต์คอยตอบคำถาม รวมทั้งอาจเปิดให้ผู้เข้าชมด้วยกันก็ได้
- ข้อมูลในการติดต่อ (Contact Information) เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเราที่เกิดข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อกับเราได้ ควรจะระบุอีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ที่ติดต่อได้ไว้ ด้วย รวมทั้งอาจมีแผนที่สำหรับลูกค้าที่ต้องการติดต่อโดยตรง
ส่วนประกอบของหน้าเว็บเพจ
โดยทั่วไปแล้ว หน้าเว็บเพจจะแบ่งออกเป็นส่วนหลัก ๆ ดังนี้คือ
- ส่วนหัว (Page Header) อยู่ตอนบนสุดของหน้าเว็บเพจ เป็นบริเวณที่สำคัญที่สุด เนื่องจากผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์จะมองเห็นก่อนบริเวณอื่น ส่วนใหญ่นิยมใช้วางโลโก้ ชื่อเว็บไซต์ ป้ายโฆษณา ลิงค์สำหรับการติดต่อ หรือลิงค์ที่สำคัญ และระบบนำทาง
- ส่วนเนื้อหา (Page Body) อยู่ตอนกลางหน้า ใช้แสดงเนื้อหาภายในเว็บเพจซึ่งอาจประกอบไปด้วยข้อความ ภาพกราฟิก ตารางข้อมูล และอื่น ๆ บางครั้งเมนูหลักหรือเมนูเฉพาะกลุ่ม อาจอยู่ในส่วนนี้ก็ได้ โดยมักวางไว้ด้านซ้ายมือสุด เนื่องจากผู้เข้าชมจะมองเห็นได้ง่าย
- ส่วนท้าย (Page Footer) อยู่ด้านล่างสุดของหน้าเว็บเพจ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้วางระบบนำทางภายในเว็บไซต์แบบที่เป็นลิงค์ข้อความง่าย ๆ นอกจากนี้ก็อาจจะมีชื่อของเจ้าของเว็บไซต์ ข้อความแสดงลิขสิทธิ์ และอีเมล์แอดเดรส (E-mail Address) ของผู้ดูแลเว็บไซต์
- แถบข้าง (Side Bar) ปัจจุบันจะนิยมออกแบบด้านข้างของหน้าเว็บเพจให้น่าสนใจ เพื่อใช้วางป้ายแบนเนอร์ หรือลิงค์แนะนำเกี่ยวกับบริการของเว็บไซต์ เป็นต้น
ที่มา : http://superwebsite.com/th/tips/view/4-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)